การดูดซึมอาหาร

การดูดซึมอาหาร

              การดูดซึมอาหาร คือ การนำอาหารโมเลกุลเล็กๆที่ผ่านการย่อยแล้ว ผ่านผนังทางเดิน อาหารเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อนำไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย
               - กระเพาะอาหาร ส่วนใหญ่เป็นการดูดซึมสารจำพวกยาและแอลกอฮอล์เป็นส่วนใหญ่
               - ลำไส้เล็ก มีการดูดซึมอาหารทุกประเภทมากที่สุด โดยผนังของลำไส้เล็กจะมีส่วนยื่น
    ออกมาเรียกว่า วิลลัส(Villus) เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึม โดยภายในวิลลัสประกอบด้วยเส้นเลือดมากมายเป็นตข่ายเพื่อ รับอาหารที่ย่อยแล้ว และส่วนแกนกลางเป็นเส้นน้ำเหลือง ซึ่งจะดูดซึมอาหารพวกกรดไขมันและกลีเซอรอล นอกจากจะย่อยสารอาหารทั้ง ชนิดแล้ว ยังดูดซึมอาหารที่ย่อยได้โมเลกุลพื้นฐานของสารอาหารชนิดนั้นๆ การย่อยอาหารในลำไส้เล็กจะ เกิดได้ดีในสภาวะที่เป็นเบส (NaHCO3) จากตับอ่อน

  การดูดซึมอาหารในลำไส้เล็ก

การดูดซึมอาหาร หมายถึง ขบวนการที่นำอาหารที่ผ่านการย่อยจนได้เป็นสารโมเลกุลเดี่ยว เช่น กลูโคส กรดอะมิโน กรดไขมัน  กลีเซอรอล  ผ่านผนังทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  ลำไส้เล็ก  เป็นบริเวณที่ดูดซึมอาหารเกือบทั้งหมดเพราะเป็นบริเวณที่มีการย่อยอาหารเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์  และโครงสร้างภายในลำไส้เล็กก็เหมาะแก่การดูดซึม คือ ผนังลำไส้เล็กจะยาวพับไปมา  และมีส่วนยื่นของกลุ่มของเซลล์ที่เรียงตัวเป็นแถวเดียวมีลักษณะคล้ายนิ้วมือ  เรียกว่า วิลลัส (Villus)  เป็นจำนวนมาก  ในแต่ละเซลล์ของวิลลัสยังมีส่วนยื่นของเยื่อหุ้มเซลล์ออกไปอีกมากมาย เรียกว่า ไมโครวิลลัส (Microvillus) ในคน  มีวิลลัสประมาณ 20-40 อันต่อพื้นที่ 1 ตารางมิลลิเมตรหรือประมาณ 5 ล้านอัน  ตลอดผนังลำไส้ทั้งหมด

การดูดซึมในลำไส้ใหญ่

การดูดซึมอาหารที่ย่อยแล้วส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ผนังลำไส้เล็ก ส่วนอาหารที่ไม่ถูกย่อยหรือย่อยไม่ได้ เช่น เซลลูโลส  ก็จะถูกส่งไปยังลำไส้ใหญ่  ส่วนต้นของลำไส้ใหญ่มีไส้เล็ก ๆ ปลายตัน  เรียกว่า  ไส้ติ่ง  ไส้ติ่งของคนไม่ได้ทำหน้าที่อะไรแต่ก็อาจเกิดการอักเสบถึงกับต้องผ่าตัดไส้ติ่งออกไป   ซึ่งอาจเกิดจากการอาหารผ่านช่องเปิดลงไป หรือเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไส้ติ่งเกิดการอุดตัน  อาหารที่เหลือจากการย่อยและดูดซึมแล้วจะผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ ลำไส้ใหญ่มีแบคทีเรียอยู่จำนวนมาก ซึ่งจะใช้ประโยชน์จากกากอาหารนี้ นอกจากนั้นแบคเทีเรียบางชนิดยังสังเคราะห์ วิตามินบางชนิด  เช่น วิตามินเค  วิตามินบี 12  เซลล์ที่บุผนังลำไส้ใหญ่ สามารถดูดน้ำ แร่ธาตุ วิตามิน และกลูโคสจากกากอาหารเข้ากระแสเลือด  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นน้ำ จึงทำให้กากอาหารข้นขึ้น  จนเป็นก้อนกากอาหารจะผ่านไปถึงไส้ตรง  ท้ายสุดของไส้ตรงเป็นกล้ามเนื้อหูรูดแข็งแรงมาก มีลักษณะเป็นวงรอบปากทวารหนักทำหน้าที่บีบตัวในการขับถ่าย และผนังภายในลำไส้ใหญ่จะขับเมือกออกมาหล่อลื่นก้อนอาหาร
น้ำดี  (Bile)  สร้างจากตับ (Liver)  แล้วถูกนำไปเก็บไว้ที่ ถุงน้ำดี (Gall  Bladder) ไม่ถือว่าเป็นเอนไซม์  เพราะจะเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม  เมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุดลงแล้ว (น้ำดีไม่มีน้ำย่อย)  มีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ

1.เกลือน้ำดี  (Bile  Salt)  มีหน้าที่ตีให้ไขมัน (Fat)  แตกตัวเป็นหยดเล็ก ๆ ไขมันที่ถูกตีให้แตกตัวเป็นหยดเล็ก ๆ เรียกว่า อีมัลชั่น (Emulsion)  จากนั้นถูก  Lipase ย่อยต่อให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล
2.รงควัตถุน้ำดี (Bile  Pigment) เกิดจากการสลายตัวของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) โดยตับเป็นแหล่งทำลายและกำจัด Hemoglobin ออกจากเซลล์  เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ  โดยเก็บรวบรวมเข้าไว้เป็นรงควัตถุในน้ำดี (Bile  Pigment) คือ บิริรูบิน (Bilirubin)  จึงทำให้น้ำดีมีสีเหลืองหรือเขียวอ่อน  และจะถูกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมน้ำตาลโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่เกิดเป็นใสในอุจจาระ
3.โคเรสเตอรอล (Cholesterol)  ถ้ามีมาก ๆ จะทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี เกิดการอุดตันที่ท่อน้ำดี  เกิดโรคดีซ่าน (Janudice)  มีผลทำให้การย่อยอาหารประเภทไขมันบกพร่อง


http://www.med.cmu.ac.th/dept/vascular/human/lesson/lesson1.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น